image

พาไปวัด

image
image
วัดนาคกลางวรวิหาร
image
image
วัดนาคกลางวรวิหาร
image
วัดนาคกลางวรวิหาร

วัดนาคกลางวรวิหาร

image
วัดนาคกลางวรวิหาร

#กราบพระพุทธรูปปางฉันสมอ ที่วัดนาคกลาง เขตบางกอกใหญ่ จ.กรุงเทพ

ที่วัดนาคกลางวรวิหารมีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ประดิษฐานอยู่ที่มณฑปของวัด มีชื่อว่าหลวงพ่อโคนสมอมหาลาภ เป็นพระพุทธรูปปางฉันสมอ หรือปางถือผลสมอ มีพระพุทธลักษณะแบบปางมารวิชัยคือนั่งขัดสมาธิเพชร พระหัตถ์ซ้ายหงายวางบนพระเพลาทรงผลสมอ (ผลสมอเป็นผลไม้ชนิดหนึ่งที่ทรงพระบรมพุทธานุญาตให้พระภิกษุสามเณรฉันได้ตลอดเวลาแม้ในยามวิกาลเพราะเป็นเภสัชขนานเอก) พระหัตถ์ขวาคว่ำลงที่พระชานุ พุทธลักษณะมีการห่มจีวรคล้ายแบบจีน มีพระเกศแบบบัวตูม แต่เดิมนั้นประดิษฐานอยู่ทางภาคเหนือ และได้อัญเชิญมาประดิษฐานที่วัดนาคกลางแห่งนี้ในช่วงกรุงรัตนโกสินทร์

เมื่อทำบุญปิดทอง และกราบหลวงพ่อโคนสมอมหาลาภกันแล้วก็มาชมอุโบสถของวัดนาคกลางกันต่อ พระอุโบสถของวัดนาคกลางนั้นเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนลักษณะทรงไทย หลังคาลด 3 ชั้น มุงกระเบื้อง ประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ภายในประดิษฐานหลวงพ่อพระพุทธประสิทธิ์ พระประธานประจำวัด เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางสมาธิ หน้าตักกว้าง 71 นิ้ว ลงรักปิดทอง และมีพระอัครสาวกเบื้องขวา เบื้องซ้าย ภายในพระอุโบสถมีจิตรกรรมฝาผนังภาพเล่าประวัติของพระพุทธเจ้าที่เรียกกันว่าทศชาติ ซึ่งเป็นภาพที่งดงามมาก

วัดนาคกลางนั้นเป็นวัดที่มีความสำคัญมากในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช มีเรื่องเล่ากันว่า พระภิกษุรูปหนึ่งได้นิมิตรว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชอยากมาประทับที่วัดนาคกลางวรวิหารแห่งนี้ โดยในนิมิตให้ไปอัญเชิญพระบรมรูปของพระองค์ ดังนั้นพระภิกษุและญาติโยมจึงไปหาตามนิมิตร และก็ได้พบจริงๆ เป็นพระบรมรูปปั้นด้วยดินเหนียว จุดที่ค้นพบนั้นอยู่ระหว่างวัดเครือวัลย์ กับกองทัพเรือ จึงได้มีการอัญเชิญมาประดิษฐานที่วัดนาคกลาง โดยสร้างศาลขึ้นแต่ปัจจุบันไม่มีศาลนั้นแล้ว เหลือแต่พระบรมรูปที่ทางวัดได้ซ่อมแซมบูรณะเก็บไว้เป็นอย่างดี ซึ่งเราก็จะเห็นพระบรมรูปของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชประดิษฐานอยู่ตามจุดต่างๆของวัด

จากอุโบสถเราก็ไปต่อกันที่ศาลาสุธรรมภาวนา (ศาลาพระเจ้าตาก) ซึ่งตั้งอยู่ทางซ้ายมือของพระอุโบสถ ภายในศาลาสุธรรมภาวนาประดิษฐานพระพุทธนิมิตฯ หรือหลวงพ่อทอง และพระบรมรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ในพระอิริยาบถต่าง ๆ จำนวน 9 พระองค์ครึ่ง และทุกๆวันเสาร์ช่วง 9.00 น. จะมีการสวดมนต์บทจักรพรรดิ์กันที่ศาลาแห่งนี้อีกด้วย ท่านไหนสนใจจะสวดมนต์บทจักรพรรดิ์ก็มากันได้นะคะ

วันนี้พาไปวัดเรามีความยินดีเป็นอย่างมากที่ได้รับความรู้จากมัคคุเทศก์น้อย ที่มาให้ความรู้และพาเที่ยวชมภายในวัด ต้องขอบพระคุณคุณครู และน้องๆมัคคุเทศก์เป็นอย่างมากเลยค่ะ

วันหยุดนี้ลองมาทำบุญกันที่วัดนาคกลางนะคะ มาแล้วประทับใจ และได้รับความรู้ได้ธรรมะ และยังเดินเท้าต่อไปยังวัดอื่นๆที่อยู่ในละแวกเดียวกันได้ด้วยค่ะ จะบอกว่ามีหลายวัด และมีของอร่อยเพียบเลยค่ะ

#วัดนาคกลาง #วัดนาคกลางวรวิหาร #เที่ยววัดกรุงเทพ #ไหว้พระบางกอก

.......................................................................................

English Version (Translated by Papaiwat )

Wat Nak Klang has enshrined a very sacred Buddha image named “Luang Por Khon Samor Maha Lab” in attitude of holding myrobalan which represents the attitude of subduing Mara: sitting cross-legs with legs locked together, left hand rests in lap holding myrobalan. (myrobalan is a kind of fruit that the lord Buddha has given exception to all monks to eat in all-time even at night due to it is one of the best to cure), right hand bends over the right knee with fingers slightly touching the ground, wears Chinese-style robe, and lotus-bud hair. Previously, Luang Por Khon Samor Maha Lab was originally located in the north and then was brought to enshrine at Wat Nak Klang during the Rattanakosin period.

After finished worship Luang Por Khon Samor Maha Lab, go out to visit the chapel. Wat Nak Klang’s charpel is a Thai-style brick building with a 3-storey tile roof decorating with Gabel apex. Inside, enshrines “Luang Por Phra Phutta Prasit”, the stucco principle Buddha image in attitude of meditation, 71 inches wide, fully gilded and both side enshrines 2 disciples. Look around you’ll see very beautiful mural painting depicted the history of the Buddha called “Thossa Chart”

Wat Nak Klang is a very important temple in the reign of King Taksin (the only King of the Thonburi Kingdom). According to the history, a monk had vision to King Taksin, he intended to come to Wat Nak Klang and told the monk to bring his image to the temple. Therefore, the monk traveled to places and found King Taksin’s clay statue in between Wat Kruawan and navy base. The statue had been moved and built a shrine at Wat Nak Klang. Time passed the shrine was tumble down but the King Taksin’s clay statue was kept in the safe place. You’ll also see King Taksin’s statue around the temple.

When you go out of the chapel, Su Dhamma Pawana pavilion (Sala Phra Chao Tak) is located on the left hand side. Inside, you will see “Luang Pho Thong” or “Phra Phutta Ni Mit” enshrines together with 9 and half different attitudes of King Taksin’s statues. Particularly in every Saturday at 09.30, you are able to participate chanting Maha Chakkraphat Mantra here.

Today, we are very pleased and thankful to young local guides and their teacher to take us a great tour with detailed information at Wat Nak Klang.

We strongly suggest you to visit this beautiful temple, learn Dhamma and especially by the temple’s location is very easy to get to nearby temples and delicious foods.